Last updated: 2019-01-24 | 480 จำนวนผู้เข้าชม |
ฝ้า (Melasma)
ปัญหาสุดกลุ้มของผิวพรรณ ที่เรียกได้ว่าเป็นญาติสนิทกับรอยกระ เพราะกระบวนการเกิดนั้นคล้ายคลึงกันมาก แต่ฝ้าจะมีบริเวณที่กว้างกว่า มองเห็นได้ชัดกว่า สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของใบหน้า แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีฝ้าบริเวณโหนกแก้ม โดยตัวเลขเฉลี่ยของคนที่เป็นฝ้าส่วนใหญ่จะเริ่มจากวัย 30 ปีขึ้นไป
สาเหตุการเกิดฝ้า
ฝ้าเกิดจากอะไร ? ฝ้า หรือ Melasma เกิดจากการที่เม็ดสีผิวหรือเม็ดสีเมลานิน (Melanin pigment) ทำงานมากเกินไป จึงทำให้สีผิวไม่สม่ำเสมอ เนื่องมาจากเจ้าเม็ดสีเมลานินนั้นมีหน้าที่กรองรังสียูวี เมื่อผิวได้รับแสงแดดมากขึ้น เมลานินก็จะถูกผลิตออกมามากขึ้นตามไปด้วย โดยรังสีที่มีผลต่อการเกิดฝ้าคือ “รังสี UVA” ซึ่งรังสียูวีเอจะมีช่วงคลื่นที่ยาวกว่ารังสียูวีบี จึงสามารถทำลายผิวได้ลึก จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเมื่อตากแดดนาน ๆ แล้วผิวถึงคล้ำเสียได้ และนอกจากแสงแดดแล้ว เรื่องของการใช้เครื่องสำอางบางชนิด การทานยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด รวมไปถึงฮอร์โมนและกรรมพันธุ์ ก็เป็นสาเหตุของการเกิดฝ้าได้เช่นกัน (ถ้าสาเหตุการเกิดฝ้ามาจากกรรมพันธุ์ โอกาสฝ้าจะกลับมาเกิดซ้ำจะมีสูงมาก และปริมาณอาจเท่าเดิมหรือลดลงกว่าเดิมเล็กน้อย จึงไม่คุ้มค่ากับการทุ่มเงินรักษาเท่าไร)
ฝ้าต่างจากกระ
“เพราะฮอร์โมน” ถ้าเป็นกระส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากแสงแดด ความร้อน และอายุ แต่ในกรณีของฝ้ามักจะมีปัจจัยฮอร์โมนเข้ามาค่อนข้างเยอะ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนอย่างรวดเร็วตอนตั้งครรภ์ รวมไปถึงการที่ฮอร์โมนลดลงอย่างรวดเร็วก็ทำให้เกิดฝ้าได้เช่นกัน อย่างช่วงการเข้าสู่วัยทอง และวัยหมดประจำเดือน เป็นต้น
ประเภทของฝ้า
ฝ้าแบบตื้น จะอยู่ในระดับผิวหนังกำพร้า (ผิวหนังชั้นนอก) ฝ้าชนิดนี้จะเป็นสีน้ำตาล ขอบชัด เกิดขึ้นได้ง่าย และสามารถรักษาให้หายได้โดยใช้เวลาไม่นาน
ฝ้าแบบลึก จะอยู่ในระดับที่ลึกกว่าผิวหนังกำพร้า ความลึกของมันจะทำให้เกิดการแสดงสีออกมาเป็นสีน้ำตาลอมฟ้าหรือสีน้ำตาลอมม่วง เป็นฝ้าที่รักษาได้ยาก การทายามักให้ผลเพียงแค่ทำให้ดูจางลงเท่านั้น
1.ลอกฝ้าด้วยกรด TCA, กรด AHA ฯลฯ (Chemical peeling)
นับว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัย (แม้ว่าจะได้ผลช้า) ที่สามารถช่วยทำให้เซลล์ผิวชั้นบนกับเม็ดสีเมลานินหลุดออกมาได้ โดยเป็นการผลัดเซลล์ผิวเก่าและช่วยผลักดันให้เซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาแทนที่ แต่หลังการทำทรีตเมนต์นี้ หน้าของคุณจะไวต่อแสงแดดมาก จึงต้องป้องกันให้ดีหลังการทำ คลินิกที่ให้บริการทรีตเมนต์ตัวนี้จะแนะนำให้ทำเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
2.ยากินรักษาฝ้า (Tranexamic acid)
ปกติแล้วยากินชนิดนี้จะเป็นยากินที่มีคุณสมบัติทำให้เลือดแข็งตัว มีข้อบ่งใช้ที่ได้รับการรับรอง คือ การนำมาใช้รักษาและป้องกันภาวะเลือดออกในผู้ป่วยเลือดไหลหยุดยาก ส่วนการใช้ยานี้เพื่อรักษาฝ้านั้นก็เนื่องมาจากกลไกการออกฤทธิ์ของยาที่สามารถยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase ที่ใช้สร้างเม็ดสีเมลานินได้ จึงมีผลทำให้ฝ้าจางลง อย่างไรก็ตามข้อบ่งใช้ส่วนนี้ยังไม่ได้รับการรับรอง และยังไม่มีรายงานด้านความปลอดภัยเมื่อใช้เป็นระยะเวลานาน อีกทั้งข้อห้ามในการใช้และผลข้างเคียงของยาชนิดนี้ก็มีหลายอย่าง เช่น มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เจ็บหน้าอก ปวดกล้ามเนื้อ ฯลฯ และจากการศึกษาผลการรักษาฝ้าส่วนใหญ่ก็มาจากการทดลองในสัตว์ ส่วนการศึกษาในมนุษย์นั้นก็พบเฉพาะในรูปแบบของยาใช้ภายนอกซึ่งก็ไม่ใช่ยากิน ดังนั้นจึงแนะนำว่าผู้จะใช้ยาหรือกำลังใช้อยู่ ให้หาทางเลือกอื่นมาใช้ในการรักษาฝ้าแทน
3.รักษาด้วยไฮโดรควิโนน (Hydroquinone)
ยาทาที่มีส่วนผสมของไฮโดรควิโนนสามารถช่วยให้การผลิตเม็ดสีถูกขัดขวางจนทำให้ผิวบริเวณที่เป็นฝ้าขาวขึ้นมาได้ แต่แม้ว่าไฮโดรควิโนนจะให้ผลในการรักษาที่ดี แต่มันก็มีข้อเสียและควรระวัง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทาง อย. ไทย ไม่อนุญาตให้ซื้อขายกันได้อย่างเสรี เว้นแต่แพทย์เท่านั้นที่สามารถจ่ายครีมที่มีส่วนผสมของยาชนิดนี้ได้
4.ฉีดเมโสรักษาฝ้า (Mesotherapy)
เป็นการใช้เข็มเล็ก ๆ ฉีดตัวยาเข้าไปในชั้นผิวตื้น ๆ เพื่อการกระจายตัวยาที่ใช้รักษากระลงสู่ชั้นเซลล์ที่มีปัญหา โดยจะฉีดลึกลงไปประมาณ 1-2 มม. ระยะห่างกันไม่เกิน 1 เซนติเมตร เฉพาะบริเวณที่มีปัญหากระและฝ้า แต่ต้องทำการฉีดซ้ำทุก ๆ 1-2 อาทิตย์ วิธีนี้ถ้าจะหวังผลการรักษาให้เป็นที่พอใจคงเป็นไปได้ยาก อย่างมากก็แค่ช่วยให้ฝ้าดูจางลงเท่านั้น
5.ฉีดสเต็มเซล์
มีงานวิจัยชี้ว่าการฉีดสเต็มเซลล์ให้กับคนที่ต้องการรักษาผิวพรรณเพื่อย้อนวัยตัวเอง จะส่งผลทำให้ฝ้าลดลงตามไปด้วย เมื่อทำการทดลองกับคนที่ไม่ได้ต้องการย้อนวัย แต่ต้องการรักษาฝ้าเพียงอย่างเดียว ก็พบว่าสเต็มเซลล์ก็สามารถช่วยลดฝ้าได้จริง ไม่ว่าจะเป็นสเต็มเซลล์จากรกของเด็กที่เพิ่งคลอด หรือสเต็มเซลล์จากผิวหนังแกะ
6.ไอออนโตรักษาฝ้า (Iontophoresis)
เครื่องมือชนิดนี้อาศัยหลักการให้กำเนิดกระแสไฟฟ้าในระดับอ่อน ๆ มีผลช่วยผลักยาหรือวิตามินที่เราทาไว้บนผิวให้ซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ยาออกฤทธิ์ในการรักษาได้ดี โดยยาที่นิยมนำมาใช้จะอยู่ในรูปแบบของเจล อย่างเจลอาร์บูติน, เจลโคจิก, เจลวิตามินซี, เจลลิโคไลซ์ และทรานซามิคเจล การรักษาแบบนี้มีผลข้างเคียงน้อย แต่อาจมีอาการระคายเคืองได้บ้าง หากทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง รับรองได้เลยว่าฝ้าคุณต้องจางลงอย่างแน่นอน ส่วนเครื่องโฟโน (Phonophoresis) ก็สามารถนำมาใช้ร่วมกับเจลเพื่อช่วยผลักยาเข้าสู่ผิวได้เช่นเดียวกับเครื่องไอออนโต ทำแล้วให้ความรู้สึกสบายกว่าการทำไอออนโต แต่โดยส่วนตัวคิดว่าการทำด้วยเครื่องไอออนโตน่าจะให้การรักษาที่ดีกว่า (จากเคสตัวอย่างด้านล่าง คือ ก่อนและหลังการทำไอออนโตโดยใช้วิตามินซี จำนวน 8 ครั้ง)
7.สูตรน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์
ใครจะรู้ว่าน้ำส้มสายชูจากผลแอปเปิ้ลจะมีประโยชน์ในด้านการช่วยดูแลผิวพรรณได้ตั้งแต่หัวจรดเท้า เนื่องจากในน้ำส้มสายชูนั้นมีฤทธิ์กรด จึงช่วยทำให้ผิวดูกระจ่างใสและเนียนนุ่มขึ้นได้ เพียงแค่คุณนำมันมาผสมกับน้ำเปล่าเล็กน้อย แล้วใช้สำลีชุบและเช็ดให้ทั่วใบหน้า รอจนแห้งแล้วจึงล้างออก
8.กรอผิวด้วยเกล็ดอัญมณี (Microdermabrasion : MD)
เพื่อช่วยเร่งการขจัดเซลล์ชั้นหนังกำพร้าให้หลุดเร็วขึ้น ก็สามารถช่วยลดรอยดำจากฝ้าได้ (เหมาะกับฝ้าแบบตื้น) แต่อาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองได้บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ากำหนดระดับความแรงในการทำงานของเครื่องมือสูงเกินไป
9.รักษาฝ้าด้วย IPL (Intense Pulsed Light)
เครื่องประเภทนี้มีหลักการทำงานคล้ายเลเซอร์ (จึงถูกเรียกเหมารวมว่าเป็นเลเซอร์) นั่นก็คือเป็นการใช้แสงยิงลงไปที่ผิวให้เกิดความร้อน และความร้อนนั้นจะไปทำลายโปรตีนของเม็ดสีผิวหรือเมลานิน ทำให้ผิวดูกระจ่างใสขึ้น กระบวนการทำไม่มีความเจ็บปวดและไม่ต้องทายาชาเหมือนการทำเลเซอร์ทั่วไป หลังทำเสร็จอาจมีรอยแดงบ้างเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ และจะค่อย ๆ จางหายไปเอง หลังการทำ IPL แล้ว จุดที่เป็นฝ้าแดดอาจมีการตกสะเก็ดบ้าง แต่ไม่ต้องตกใจ เพราะมันจะค่อย ๆ หลุดออกมาเอง และเพื่อให้ผลที่ดีในการรักษาควรทำติดต่อกันทุก 2 สัปดาห์ ในช่วงแรก และกลับมาทำอีกทุก ๆ 1-2 เดือน เพื่อยังผลการรักษาเอาไว้ แต่อย่างไรก็ดี การทำ IPL ก็ไม่สามารถทำให้ฝ้าหายขาดได้ เพียงแต่ช่วยทำให้มันจางลงเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปมีโอกาสจะกลับมามีสีเข้มเหมือนเดิม ดังนั้นทำไปแล้วก็อย่าลืมดูแลตัวเองด้วยล่ะ ไม่อย่างงั้นจะเสียเงินฟรี ๆ นะเออ
10.เลเซอร์รักษาฝ้า กระ โดยเฉพาะ เช่น เครื่อง Helios II
เป็นเครื่องเลเซอร์ประเภท Q-Switched Nd:YAG ซึ่งใช้เทคโนโลยีชนิดพิเศษ เทคโนโลยี Fractional โดยใช้ DOE Lens ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาฝ้า และความผิดปกติของเม็ดสีชั้นลึกโดยที่ผลข้างเคียงน้อยกว่าวิธียิงแบบปกติ
โดยตัวเครื่องสามารถผลิตแสงเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 1064 นาโนเมตร ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาฝ้า กระลึก รอยสักสีเข้ม และรอยโรคที่มีความผิดปกติของเม็ดสี (Pigment) ในชั้นหนังแท้ และแสงเลเซอร์ความยาวคลื่น 532 นาโนเมตร ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษารอยสักสีแดง และรอยโรคที่มีความผิดปกติของเม็ดสี (Pigment) ที่ผิวหนังชั้นตื้น
Helios II เป็นเครื่องสำหรับรักษาความผิดปกติของเม็ดสีในผิวหนังชั้นลึกและตื้นจึงเหมาะสำหรับ
ปรับสภาพสีผิวให้สม่ำเสมอยิ่งขึ้น
รักษาความผิดปกติของเม็ดสี เช่น กระ จุดด่างดำ
กระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวอย่างอ่อนโยน
ลบรอยสัก สีเข้ม เช่น สีดำ แดง ฟ้า เขียว สีน้ำเงิน
รักษาฝ้า กระลึก ปานดำ ปานน้ำตาล
ลดปัญหารูขุมขนกว้าง
ลดเลือนริ้วรอยและเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ผิว
ริมฝีปากคล้ำ
หัวนมชมพู
Feb 05, 2021
Jan 25, 2019
Jan 28, 2019
Jan 24, 2019